กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/626
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Using Assistive Technology to Develop Reading Skills in Students with Learning Disabilities.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คำปัน, บุญเลิศ
Khampan, Boonlert
ยะมังชัยประสิทธิ์, วิไลลักษณ์วิไลพร
Chaiprasit, Wilaiporn
ยะมัง, วิไลลักษณ์
Yamong, Wilailuk
คำสำคัญ: การใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: Chang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อสร้างและศึกษาผลการใช้โปรแกรมเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก ในการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษาปีที่ 2 – 6 จำนวน 20 คน ในโรงเรียนบ้านบ่อหิน และโรงเรียนชุมชนบ้านดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดทักษะการอ่านภาษาไทย (การอ่านเป็นคำ การอ่านเป็นประโยคและความเข้าใจในการอ่าน) สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของโปรแกรมเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก ของกลุ่มทดลอง มีสัดส่วนระหว่างการฝึกและหลังการฝึก คือ 81.33 / 79.66 2. คะแนนเฉลี่ยทักษะการอ่านสะกดคำ การอ่านเป็นประโยค และความเข้าใจในการอ่าน ของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. คะแนนเฉลี่ยของทักษะการอ่านสะกดคำ และการอ่านเป็นประโยค หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: The purpose of this study was to create and investigate assistive technology program to develop reading skills in students with learning disabilities. The subjects were 20 students with learning disabilities in Boahin school and Chumchon Ban Doi Tao school in Chiangmai province. The instruments consisted of tests of Thai reading skills (sight word reading, sentence reading, comprehension) The results were: 1. The efficiency ratio of assistive technology program between and after training of the experimental group was 81.33 / 79.66. 2. The mean scores of sight words reading, sentence and comprehension reading skills after study were significantly higher than before study at 0.01 level of confidence in the experimental group. 3. The mean scores of sight words reading, sentence reading skills after study in the experimental group were significantly higher than the control group at 0.01 level of confidence while comprehension skill was not different between the two groups
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/626
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover (ปก)405.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)392.31 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)401.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)436.07 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)697.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)487.9 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)449.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)478.19 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)465.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น