Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/547
Title: การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่กับท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่
Authors: ไชยเมืองดี, ชุลีกาญจน์
และคณะ
Keywords: การท่องเที่ยวโดยชุมชน
Issue Date: 2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่กับท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ข้อมูลปฐมภูมิรวบรวมจากกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 11 ชุมชน ที่สมัครใจในการร่วมเวทีเสวนาปฏิบัติการ อาศัยกระบวนการ SWOT และการ Focus group เพื่อให้ทราบบริบทและศักยภาพของการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 8 ประเภท ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวิสาหกิจชุมชน 2) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) การท่องเที่ยว เชิงเกษตร 5) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 6) การจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยทรัพยากรบุคคล 7) การบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยว และ 8) การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับองค์กรท้องถิ่นในชุมชน นำไปสู่การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบประเมินต้นทุนและผลตอบแทนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากนั้นนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติอย่างง่าย คือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่าชุมชนสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 8 ประเภท ได้เป็นอย่างดี มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการองค์กร แต่ส่วนใหญ่ยังขาดศักยภาพด้านการทำกำไร เนื่องจากขาดความรู้และความเข้าใจในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการทำธุรกิจชุมชน ผลการวิจัยนำไปสู่แนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ได้ 8 แนวทางที่เชื่อมโยงกัน โดยเริ่มจากแนวทางที่ 1 คือการเพิ่มศักยภาพของบุคคลในการจัดการท่องเที่ยวตั้งแต่ระดับการให้ความรู้สู่การสร้างภาวะผู้นำทางธุรกิจท่องเที่ยวแนวทางที่ 2 คือการสร้างความรู้และส่งเสริมความเข้าใจในการจัดสรรผลประโยชน์ของการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางที่ 3 คือ การส่งเสริมให้ชุมชนทำการท่องเที่ยวที่หลากหลายมีการผลิตสินค้าในลักษณะของวิสาหกิจชุมชนร่วมกับการนำเที่ยวในชุมชน แนวทางที่ 4 ต้องลดต้นทุนการประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนซึ่งเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง แนวทางที่ 5 และ 6 คือ การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อสารสนเทศเพื่อการศึกษาร่วมกับชุมชนในการผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบวีดีทัศน์ของการท่องเที่ยว แนวทางที่ 7 คือ การสร้างเครือข่ายกับองค์กรชุมชนในแนวราบและแนวตั้ง ทั้งนักวิชาการในท้องถิ่น นักวิจัยของหน่วยงานทางการศึกษาท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน และนำไปสู่แนวทางที่ 8 คือการสร้างและพัฒนาแผนการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ชุมชนต้องอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกับการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงจะก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนได้
Description: This research aims to study guidelines to develop the potentiality of tourism management in Chiang Mai. It is the qualitative research and supported by qualitative analysis. Primary data collected from 11 groups of local tourism who were willing to join in this project. SWOT analysis and focus group were used in order to know the context and the potentiality of communities to manage their tourism. There are 8 types of tourism in communities; 1) small and micro economic enterprise tourism; 2)cultural tourism ; 3)health tourism; 4)agro-tourism; 5)historical tourism; 6)tourism management by local peopld;7)management of tourism resources and 8)tourism connect to local organizations. Quantitative data collected from the benefit cost of tourism operation. Descriptive statistics such as mean and percentage were used to analyze the data. The finding showed that communities can operate all 8 types of tourism business. They have the potentiality to manage their organizations. Most of them however lack ability to analyze the benefit cost. There are 8 ways to develop the potentiality of tourism management; 1)enhance people’s potentialities to manage tourism by rendering them knowledge and create their leadership to do the business of tourism; 2) create knowledge and make people how to efficiently allocate the benefit from tourism; 3)promote communities to do various kinds of tourism by making products and operate tourism business together; 4) minimize the public relations cost of tourism; 5)and 6) local communities should participate to develop the information technology by producing the videos of tourism; 7) create the network of community organizations such as scholars, researchers from local educational institutions and local administrative organizations to set up the strategic plan of tourism and 8) create and develop plan to manage the resources of tourism and preserve them as well as operate their tourism business together so that it will make the development of tourism sustainably.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/547
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover487.18 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract389.41 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent412.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1551.28 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter21.32 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3482.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4768.59 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5719.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6433.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter7492.92 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography456.95 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.